วันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2551

กระบวนการเกิดซากดึกดำบรรพ์ (ต่อ)

6. การเกิดร่องรอยซากดึกดำบรรพ์ (fossil traces) เป็นการเกิดร่องรอยอันมีที่มาจากสิ่งมีชีวิตโบราณเป็นตัวกระทำ ไม่ใช่เป็นตัวซากดึกดำบรรพ์โดยตรง มีหลายรูปแบบ ดังนี้

แบบหล่อ (mold) เกิดจากซากส่วนที่แข็งถูกทับถมโดยตะกอน และเกิดเป็นรอยพิมพ์ของส่วนที่แข็งปรากฏอยู่ในหิน เรียกว่าแบบหล่อ ซึ่งยังแบ่งออกได้เป็น
1) แบบหล่อด้านนอกของส่วนที่แข็ง
2) แบบหล่อด้านในของส่วนที่แข็ง






รูปหล่อ (cast) เมื่อซากส่วนที่แข็งถูกทับถมในตะกอน และเกิดเป็นแบบหล่อขึ้นมาแล้ว ต่อมาส่วนที่แข็งดังกล่าวถูกชะล้างหรือละลายออกไปจนเกิดเป็นช่องว่าง ซึ่งภายหลังช่องว่างนั้นถูกแทนที่ด้วยแร่หรือหินอื่นๆ เรียกร่องรอยเหล่านี้ว่า “รูปหล่อ”

อยพิมพ์ (impression) เกิดจากซากอินทรีย์ถูกฝังอยู่ในตะกอน เมื่อตะกอนอัดตัวแน่นกลายเป็นหินดินดาน หินทรายแป้ง หินทรายหรือหินปูน จะปรากฏเป็นร่องรอยกดของสารอินทรีย์ประทับอยู่ในหิน เช่น ซากใบไม้ ซากสัตว์ พวกไบรโอซัว (bryozoa) เป็น





ต้นรอยเท้าและรอยลาก (tracks and trails) เป็นร่องรอยของรอยเท้า รอยลาก รอยคืบคลาน หรือรอยของส่วนร่างกายสัตว์ที่ปรากฏอยู่ในตะกอนหรือหินแข็ง เช่น รอยเท้าไดโนเสาร์ รอยของกระพรุนทะเล เป็นต้น



คอโปรไลต์ (coprolites) เป็นซากสิ่งขับถ่ายของสัตว์ในสมัยบรรพกาล มีความสำคัญ ในลักษณะที่อาจเป็นส่วนที่ไม่ย่อยของอาหารที่เหลืออยู่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการบอกนิสัยการกินของสัตว์ รวมทั้งอาจทำให้ทราบรูปร่างและขนาดของรูทวารหนักของสัตว์ชนิดนั้น ๆ ได้

แกสโตรไลต์ (gastrolites) เป็นก้อนกรวดก้อนหินที่มีความมัน เรียกว่า หินกิซซาร์ด (Gizzard stone) มีอายุอยู่ในมหายุคมีโซโซอิก เพราะสัตว์เลื้อยคลานในมหายุคดังกล่าวกินเข้าไปเพื่อช่วยในการย่อยอาหารแล้วถ่ายออกมา

ร่องรอยอื่นๆ เช่น รอยรูที่เกิดจากตัวหนอน หอย หรือสัตว์ที่เจาะพื้นที่อยู่อาศัย รอยเขี้ยวหรือฟันแทะที่ปรากฏบนชิ้นกระดูก

































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น