วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2551

จระเข้ ยุคไดโนเสาร์

จระเข้ ญาติที่ใกล้ชิดกับไดโนเสาร์และนก แม้ว่าจะมีขนาดไม่ใหญ่โตและน่าตื่นเต้นเท่ากับไดโนเสาร์ แต่จระเข้เป็นสัตว์ที่มีอายุยืนยาวนานกว่า 200 ล้านปี โดยบรรพบุรุษของจระเข้สามารถรอดพ้นจากการสูญพันธุ์ครั้งสำคัญในระหว่างยุคครีเทเชียส-เทอร์เชียรี่ (K-T mass extinction) และมีวิวัฒนาการมาจนถึงปัจจุบัน ในขณะที่ไดโนเสาร์ซึ่งแข็งแรงและใหญ่โตกว่าหลายเท่ากลับสูญพันธุ์หายไปจนหมดสิ้น

ที่มา: http://taggart.glg.msu.edu/isb200/mesob.htm


ที่มา: http://daphne.palomar.edu/mlane/DRAWINGS/drawings.htm

ประวัติการสำรวจและศึกษาซากดึกดำบรรพ์จระเข้ในประเทศไทยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 โดย Dr. Eric Buffetaut และ อจ.รุจา อิงคะวัต เป็นการค้นพบจระเข้ชนิดใหม่ของโลกที่มีปากยื่นยาวคล้ายพวกตะโขง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sunosuchus thailandicus หลังจากนั้น 3 ปีต่อมาก็ค้นพบจระเข้ชนิดใหม่ของโลกที่มีรูปร่างใกล้เคียงกับจระเข้ปัจจุบันคือ Goniopholis phuwiangensis จากนั้นคณะสำรวจก็เน้นการศึกษาไปยังซากฟอสซิลไดโนเสาร์ ซึ่งเริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่นักวิจัยสำรวจซากไดโนเสาร์อย่างจริงจัง ซากดึกดำบรรพ์ของจระเข้ก็ถูกค้นพบมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน และได้นำมาเก็บรักษาที่ศูนย์วิจัยไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว จ.กาฬสินธุ์ ขณะนี้ตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์จระเข้ในมหายุคมีโซโซอิกของไทยซึ่งได้รับขุดค้นและเก็บรักษามาตลอด 25 ปี ได้รับศึกษาเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว ข้อมูลที่รวบรวมได้เวลานี้สามารถบอกได้ว่าประเทศไทยมีความหลากหลายของซากดึกดำบรรพ์จระเข้เพิ่มขึ้นเป็น 3 วงศ์ 6 สกุล 9 ชนิด (จากเดิม 1 วงศ์ 2 สกุล 2 ชนิด) เป็นอย่างน้อย ล่าสุดเมื่อปีพ.ศ. 2550 จระเข้โบราณอีกชนิดหนึ่งของประเทศไทยได้ถูกศึกษา และตั้งขึ้นเป็นจระเข้สกุลและชนิดใหม่ของโลก Siamosuchus phuphokensis Lauprasert et al., 2007 จัดเป็นจระเข้ที่โครงร่างถูกเก็บรักษาในสภาพซากดึกดำบรรพ์สมบูรณ์สุดเท่าที่เคยสำรวจพบมาในประเทศไทย และได้มีการแถลงข่าวการค้นพบไปเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามนี้เอง (http://www.prc.msu.ac.th/new_prc/)

"Goniopholis" phuwiangensis Buffetaut and Ingavet, 1980

"Sunosuchus" thailandicus Buffetaut and Ingavet, 1983

Siamosuchus phuphokensis Lauprasert et al., 2007

ภูมิอากาศของโลกในช่วงมหายุคมีโซโซอิกค่อนข้างจะร้อน ทำให้ประชากรของจระเข้แผ่กระจายกว้างขวางกว่าที่ถูกจำกัดอยู่ในเขตร้อนชื้น (tropical zone) เช่นในปัจจุบัน ดังนั้นจระเข้เมื่อ 150 ล้านปีก่อนจึงมีความหลากหลายมากกว่า 150 สกุล อาศัยอยู่ทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม แต่มีการขุดค้นพบซากฟอสซิลของจระเข้ในประเทศไทยเพียง 6 สกุล หรือคิดเป็น 4 % ของจระเข้ในมหายุคมีโซโซอิกเท่านั้น ถ้าหากมีการขุดค้นกันอย่างจริงจังและต่อเนื่องจะค้นพบซากฟอสซิลของจระเข้ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น